เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565 จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้น และการเพิ่มมาตรการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 แบบคนไข้ผู้ป่วยนอกโดยเฉพาะฟาวิพิราเวียร์ และตัวล่าสุด โมลนูพิราเวียร์ ที่กำลังเริ่มนำเข้ามาใช้ในเดือนมีนาคมนี้ โดยแต่ละตัวมีข้อบ่งชี้ในการใช้ และผลข้างเคียงที่แตกต่างกันออกไป
ฟาวิพิราเวีย (Favipiravir)
ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นยาต้านไวรัส มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส SARS CoV2 ที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 ด้วยการออกฤทธิ์ 2 แบบ คือยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสด้วยการขัดขวางการสร้าง RNA ของไวรัส และทำให้เชื้อไวรัสกลายพันธุ์จนภูมิต้านทานในร่างกายมนุษย์สามารถเข้าไปกำจัดไวรัสจนหมด หรือเหลือปริมาณน้อยจนไม่สามารถก่อโรคในร่างกายได้
ตามแนวทางของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขนั้น ยาฟาวิพิราเวียร์จะเริ่มใช้ในผู้ป่วยระดับสีเขียวอ่อนและระดับสีเหลือง
ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือโรคร่วมสำคัญ และภาพถ่ายรังสีปอดปกติ (สีเขียวอ่อน) และผู้ป่วยผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบเล็กน้อย ยังไม่ต้องให้ออกซิเจน (สีเหลือง) ทั้งวิธีการใช้และปริมาณยา ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งผู้ป่วยต้องใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น
โมลนูพิราเวียร์ (molnupiravir)
ยาโมลนูพิราเวียร์ จะออกฤทธิ์กับโครงสร้างของไวรัส SARS CoV2 ทำให้โครงสร้างผิดไปจากเดิม ไวรัสจึงไม่สามารถจำลองแบบพันธุกรรมและเพิ่มจำนวนต่อไปได้
ตามแนวทางของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขนั้น จะใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ ในกลุ่มผู้ป่วยระดับสีเหลือง และระดับสีแดง
หรือผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสาคัญ หรือผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบเล็กน้อย ยังไม่ต้องให้ออกซิเจน (สีเหลือง) และผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดอักเสบที่มี hypoxia (resting O2 saturation ≤ 94 %) หรือมีภาวะลดลงของออกซิเจน SpO2 ≥3% ของค่าที่วัดได้ขณะออกแรง หรือภาพรังสีทรวงอกมี progression ของ pulmonary infiltrates (สีแดง) โดยเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่มีอาการปอดอักเสบเล็กน้อย
ผลข้างเคียงองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาหรือ FDA ระบุว่า ยาโมลนูพิราเวียร์ อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ พร้อมแนะนำว่าไม่ควรใช้ในหญิงมีครรภ์ เนื่องจากจากการทดลองในสัตว์พบว่า ยาส่งผลกระทบกับตัวอ่อนในครรภ์ รวมถึงไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เนื่องจากอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูก