เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา มีข่าวจากสื่อ ออกมาว่า สมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพธุรกิจกลางคืนและธุรกิจบันเทิง ได้ซึ่งนำโดย “นายปริญ พานิชภักดิ์” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้ประสานงาน ผู้ประกอบการธุรกิจกลางคืน ธุรกิจบันเทิง ตัวแทนนักดนตรีกลางคืน ตัวแทนกลุ่มผู้จัดงานอีเวนต์ ตัวแทนอาชีพอิสระ และตัวแทนชมรมคราฟต์เบียร์ เข้ายื่นจดหมายผ่อนปรนมาตรการควบคุม 8 ข้อ เพื่อต่อลมหายใจให้กับผู้ประกอบการธุรกิจทั้งหลายที่ได้รับผลกระทบที่เกิดจากการระบาดของไวรัส Covid-19 ซึ่งกระทบหนักจสูญเม็ดเงินไปทั้งหมดเป็นจำนวน 1.3 แสนล้านบาทเลยทีเดียว
ทั้งนี้ที่ได้ทำการยื่นข้อเสนอต่าง ๆ ให้ถึง “นายชวน หลีกภัย” ประธานรัฐสภา เพื่อเป็นการช่วยเหลือและหาแนวทางไม่ปิดกิจการ ช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ได้เดินหน้าต่อไปได้ หลังที่ได้รับผลกระทบมาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 มาโดยตลอด เป็นระยะเวลากว่า 200 วันที่ผ่านมา และทางผู้ประกอบการกิจการดังกล่าวก็ได้ให้ความร่วมมืออย่างดีมาโดยตลอดและข้อเสนอ 8 ข้อที่จะยื่นผ่อนปรนมาตรการมีดังนี้
- ยกเลิกคำสั่งปิดสถานบันเทิงแบบเหมารวม โดยให้ปิดเฉพาะสถานประกอบการที่พบผู้ติดเชื้อหรืออยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเป็นระยะเวลา 14 วัน และให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้กักตัว
- ข้อให้มีคำสั่งปลดล็อกเพื่อให้ธุรกิจกลางคืนและธุรกิจบันเทิงได้กลับมาเปิดบริการ และสามารถจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้ภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 โดยให้คงการปฏิบัติตามมาตรการคำสั่งของ ศบค.เพื่อรักษามาตรฐานการควบคุมโรค
- ผ่อนปรนให้สามารถขายแอลกอฮอล์เพื่อบริโภคในร้านค้าได้ เนื่องจากไม่พบข้อมูลบ่งชี้ว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยในการก่อโรค
- ผ่อนปรนให้มีการจัดมหรสพโดยให้คงการปฏิบัติตามมาตรการคำสั่งของ ศบค.เพื่อรักษามาตรฐานการควบคุมโรค
- พิจารณาการจัดสรรฉีดวัคซีนให้ผู้ประกอบการ ผู้บริการ และ/หรือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานประกอบการธุรกิจกลางคืน และธุรกิจบันเทิงโดยเร็ว
- พิจารณาให้มีนโยบายที่ชัดเจนเรื่องการเยียวยา การพักชำระหนี้ และ/หรือ การกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ เพื่อรักษาสภาพคล่องทางธุรกิจและรักษาการจ้างงานพนักงานจากการปิดธุรกิจชั่วคราว รวมถึงกลุ่มอาชีพอิสระที่ไม่ได้รับโอกาสให้เขาถึงแหล่งการเงินเหล่านี้ พร้อมลดหย่อนภาษี
- เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน และ/หรือ ประชาชนในกลุ่มภาคธุรกิจที่ได้รับความเดือดร้อน เข้าร่วมรับฟัง เสนอแนะ พูดคุย ในกระบวนการออกมาตราการและนโยบายต่าง ๆ
- เปิดช่องทางการสื่อสาร เพื่อรับฟังความคิดเห็นและความต้องการจากประชาชนที่เดือดร้อน